





บริการรับว่าความทั่วราชอาณาจักร ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน หลากหลายคดี ทนายสุจิตรา บุญมี
- คดีแพ่ง คดีอาญา คดีมรดก ยื่นคำร้อง ยื่นคำคัดค้านผู้จัดการมรดก
ถอดถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องแบ่งมรดก ฟ้องขอให้เป็นบุตรชอบด้วย
กฎหมายของบิดา (ผู้ตาย) ร้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องผิดสัญญาหมั้น
เรียกค่าทดแทน เรียกคืนของหมั้น สินสอด - ฟ้องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ฟ้องร้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดี
เป็นฝ่ายโจทก์หรือจำเลย
คดีครอบครัว ฟ้องหย่า ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ แบ่งสินสมรส รับรองบุตร
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทน ตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร - คดีบริโภค บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์
- คดีแรงงาน ฟ้องเรียกค่าชดเชย เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
- คดีล้มละลาย ฟ้องล้มละลาย ประนอมหนี้
- คดีทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
- ร่างนิติกรรมสัญญา ตรวจดูสัญญา ร่างพินัยกรรม
- ประกันตัวในคดีอาญา
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการทั่วราชอาณาจักร
- ดำเนินการบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สิน การขายทอดตลาด
- จัดทำอุทธรณ์ ฎีกา
- คดีภาษีอากร
- บังคับคดี


เกี่ยวกับเรา
สุจิตราเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พร้อมทีมงานทนายความที่มีประสบการณ์ ให้บริการงานทั่วไปทางกฎหมาย รับปรึกษากฎหมายเบื้องต้นฟรี รับว่าความทั่วราชอาณาจักร มีเจตนารมณ์ให้คำแนะนำปรึกษากฎหมายและคดีความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายสำหรับประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่ได้รับความทุกข์ใจหรือความเดือดร้อน โดยเราคำนึงถึงความถูกต้อง ความยุติธรรม และผลประโยชน์ของท่านเป็นสำคัญ เราบริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกความ ด้วยความจริงใจ และเป็นกันเอง ท่านจะได้รับความเป็นธรรม สะดวก รวดเร็ว จากการทำงานที่เป็นระบบและมีคุณภาพ
บทความ

ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรหรืออุปการะเลี้ยงดูบุตร
การส่งเสียเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของบิดามารดา ที่จะต้องเลี้ยงดูบุตร ตามมาตรา 1564 กำหนดให้ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ หรือหลังจากบรรลุนิติภาวะแล้วในกรณีที่บุตรเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมต้องทำอย่างไร
คุณสมบัติหรือเงื่อนไขการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมมีอะไรบ้าง
1.บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
2.กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ
4.ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ห้ามสมรสกับญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา ความเป็นญาตินี้คำนึงตามสายโลหิต ไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
5.ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น (ห้ามสมรสซ้อน)
6.ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ หากผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกไป
7.หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีสิทธิในทรัพย์สินไหม หรือสามารถจัดการมรดกได้ไหม
สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย (ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) แต่อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินที่ชายหญิงได้ลงทุน ร่วมแรง ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินกันนั้นถือว่าเป็น “เจ้าของร่วมกัน” และมีส่วนในทรัพย์สินเหล่านั้นคนละครึ่งเท่ากัน