กู้ยืมเงินผ่านทางเฟซบุ๊กหรือไลน์ ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้

กู้ยืมเงินผ่านทางเฟซบุ๊ก(Facebook)หรือไลน์(LINE) ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้

การกู้ยืมเงินทางเฟซบุ๊กหรือไลน์ สามารถฟ้องคดีผู้กู้ยืมได้ แม้จะไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร

หากมีเพื่อนหรือคนรู้จักมาขอยืมเงิน โดยการแชทมาขอยืมผ่านทางไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ และสุดท้ายไม่นำเงินมาคืนให้ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ กรณีเช่นนี้ นั้น

เจ้าหนี้สามารถใช้ข้อความการสนทนาหรือข้อความแชททางไลน์ เฟซบุ๊ก หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ มาเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินหรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

มาตรา ๗ ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา ๘ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความ นั้นได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการปิดอากรแสตมป์ หากได้มีการชำระเงินแทนหรือ ดําเนินการอื่นใดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งเกี่ยวข้องประกาศกําหนด ให้ถือว่าหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หรือเอกสาร ซึ่งมีลักษณะเป็นตราสารนั้นได้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามกฎหมายนั้นแล้ว ในการนี้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว คณะกรรมการจะกำหนดกรอบและแนวทางเพื่อเป็น มาตรฐานทั่วไปไว้ด้วยก็ได้

โดยให้รวบรวมหลักฐานดังนี้

  1. หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่านแชท หรือกล่องข้อความออนไลน์
  2. หลักฐานบัญชีของผู้กู้ยืมเงิน
  3. หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร ทั้งนี้ หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยัน และอธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน

error: Content is protected !!
ข้ามไปยังทูลบาร์