ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งมรดก ทายาทมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้

กรณีมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเกิน 10 ปี ขาดอายุความหรือไม่ ?

เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย และมีทรัพย์สิน โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ทรัพย์สินบางอย่างจะต้องมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อซึ่งจะกระทำได้ จะต้องมีคำสั่งหรือคำพิพากษาศาลมาแสดงก่อนจึงจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้ เช่น โฉนดที่ดิน และเมื่อบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้ว ไม่ดำเนินการรวบรวมและจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก จนล่วงเลยเป็นระยะเลาเนิ่นนานมาก เกิน 10 ปี ทายาทคนอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกสามารถดำเนินคดีฟ้องศาลให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ สำหรับกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อรวบรวมทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือยังไม่แล้วเสร็จถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างการจัดการมรดก

ดังนั้น ทายาทย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จัดการมาดกแบ่งปันทรัพย์มรดกเมื่อใดก็ได้ไม่มีกำหนดอายุความ

ถ้าผู้จัดการมรดก ไม่ยอมแบ่งปันทรัพย์มรดก นำทรัพย์สินไปเป็นของตนเองเพียงคนเดียว ผู้จัดการมรดกผิดข้อหายักยอกทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นคดีอาญา มีอัตราโทษจำคุก

มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036 / 2557 

กำหนดอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อผลกำหนด 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันกัน

แต่สำหรับกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อรวบรวมทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือยังไม่แล้วเสร็จถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างการจัดการมรดกทายาทย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องให้ผู้จัดการมาดกแบ่งปันทรัพย์มรดกเมื่อใดก็ได้ไม่มีกำหนดอายุความ

เมื่อที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้จัดสรรแบ่งปันแก่ทายาท จึงถือว่าอยู่ในระหว่างการจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกอายุความตามมาตรา 1754 จึงไม่นำมาใช้บังคับคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก

นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกได้ครอบครองทรัพย์มรดกต้องถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอันมีผลเสมือนทายาทครอบครองทรัพย์มรดกนั้นด้วยตนเองซึ่งนับว่าเป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1748 นั่นเอง

error: Content is protected !!
ข้ามไปยังทูลบาร์